ประวัติ ของ วิทยุทางทะเล ย่านความถี่วีเอชเอฟ

วิทยุทางทะเลเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านวิทยุในเชิงพาณิชย์ครั้งแรก ซึ่งช่วยให้เรือสามารถที่จะติดต่อกับชายฝั่งและเรือลำอื่น ๆ ได้ และใช้ในการเรียกขานเพื่อขอความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินได้ โดยกูลเยลโม มาร์โกนี ได้คิดค้นการสื่อสารทางวิทยุในคริสต์ทศวรรษที่ 1890 และบริษัทมาร์โกนีได้ติดตั้งสถานีโทรเลขไร้สายบนเรือตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2443 มาร์โกนีได้สร้างสถานีฝั่งไว้จำนวนหนึ่ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 ได้เริ่มต้นใช้งานระบบเรียกขอความช่วยเหลือด้วยรหัสมอร์สขึ้นเป็นครั้งแรก โดยใช้อักษร CQD ในการเรียกขานขอความช่วยเหลือ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2449 ได้มีการนำอักษร SOS มาใช้งานแทนตามข้อตกลงร่วมกันในการเดินทะเล เหตุการณ์สำคัญที่ได้ใช้งานการขอความช่วยเหลือด้วยวิทยุคือเหตุการณ์เรือ อาร์เอ็มเอส รีพับบลิคล่ม ในปี พ.ศ. 2452 ซึ่งสามารถช่วยเหลือผู้ประสบเหตุได้กว่า 1,500 คนในเหตุการณ์นั้น และการสื่อสารเพื่อช่วยเหลือเรือ อาร์เอ็มเอส ไททานิก ในปี พ.ศ. 2455 ที่ทำให้กิจการวิทยุทางทะเลเป็นที่รู้จักของสาธารณชน และพนักงานวิทยุทางทะเลถูกถือว่าเป็นวีรบุรุษในเหตุการณ์ครั้งนั้น โดยในปี พ.ศ. 2463 สหรัฐมีสถานีชายฝั่งจำนวน 12 แห่งตั้งทอดยาวไปตามชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกตั้งแต่บาร์ฮาร์เบอร์ รัฐเมน จนถึงแคปเมย์ รัฐนิวเจอร์ซีย์[2]

เครื่องส่งสัญญาณวิทยุทางทะเลเครื่องแรกใช้ความถี่ช่วงคลื่นยาว ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การกล้ำแอมพลิจูดได้รับการพัฒนาขึ้น และในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1920 อุปกรณ์วิทยุโทรเลขแบบสปาร์ค (spark radiotelegraphy) ถูกแทนที่ด้วยวิทยุโทรศัพท์แบบหลอดสูญญากาศที่ช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารด้วยเสียงได้ นอกจากนี้ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1920 ยังมีการค้นพบปรากฏการณ์การข้ามชั้นบรรยากาศหรือคลื่นฟ้า ซึ่งทำให้เครื่องส่งแบบหลอดสูญญากาศกำลังส่งต่ำที่ทำงานในแถบความถี่ช่วงคลื่นสั้นสามารถสื่อสารในระยะไกลได้

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรต้องการที่จะสกัดกั้นการตรวจจับการสื่อสารวิทยุจากฝ่ายเยอรมัน ในภารกิจคุ้มกันภายในมหาสมุทรแอตแลนติก อเมริกันและอังกฤษจึงใช้วิทยุสื่อสารย่านวีเอชเอฟในรูปแบบของ TBS (Talk-Between-Ships)[3]

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิทยุทางทะเล ย่านความถี่วีเอชเอฟ https://www.viestintavirasto.fi/attachments/Rannik... https://doi.org/10.1177%2F0002716229142001S09 http://jproc.ca/rrp/nro_ww2.html http://www.allaboutais.com/index.php/en/technical-... http://nebula.wsimg.com/08ac6f768a2ba3f85f01b41f5e... https://www.gov.uk/government/publications/mgn-324... https://web.archive.org/web/20100920105428/http://... http://www.arrl-al.org/Railroad%20Communications%2... http://www.navcen.uscg.gov/?pageName=mtvhf https://web.archive.org/web/20161007144151if_/http...